มูลนิธิข้าวขวัญ สุพรรณบุรี

ประวัติความเป็นมา

     มูลนิธิข้าวขวัญ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2527  โดย อาจารย์ เดชา ศิริภัทร ลูกเจ้าของโรงสีที่ต้องการที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นองค์กรเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ ลดการใช้สารเคมีต่างๆ ใช้แนวเกษตรอินทรีย์ในการปลูกพืชพื้นบ้าน ค้นหาวิธีร่วมกับเกษตรกรเพื่อทำการเกษตรแบบยั่งยืนโดยไม่ใช้สารเคมี
     การเริ่มต้นของมูลนิธิข้าวขวัญในปี 2427 นั้น เริ่มต้นจากการเลี้ยงปลาในนาข้าว ใช้การทำการเกษตรแบบผสมผสานเหมือนกับภาคอีสาน โดยขึ้นตรงกับสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ต่อมาในปี 2532 ได้แยกตัวออกมาตั้งองค์กรใหม่ชื่อว่า ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคม
     จนกระทั่งปี 2541 ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิข้าวขวัญ ซึ่งจ.สุพรรณบุรีนั้นเป็นแหล่งผลิตผลผลิตทางการเกษตรใหญ่ และได้รับผลกระทบในการใช้สารเคมีในการปฏิวัติเขียว ทำให้ผู้ผลิต และผู้บริโภค ได้รับผลกระทบจากสารเคมี เป็นต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงต้องมาคิดแก้ปัญหาการใช้เกษตรทางเลือกแบบอินทรีย์แทนเคมี

วัตถุประสงค์ขององค์กร

  1. พัฒนาเทคโนโลยีเกษตรทางเลือกแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ ได้แก่ การปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ข้าว พืชพื้นบ้าน การปรับปรุงบำรุงดิน สมุนไพรควบคุมแมลง และวิทยาการทดแทนสารเคมี
  2. ส่งเสริมและเผยแพร่แนวความคิด และเทคนิควิธีของเกษตรกรรมทางเลือก ตลอดจนนำเสนอระบบเกษตรกรรมทางเลือกที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว ให้กับเกษตรกรผู้สนใจเพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้อย่างอิสระ
  3. สามารถสร้างความรู้และเทคโนโลยีของตนเอง โดยการผสมผสานความรู้เก่าและความรู้ใหม่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ การมีสุขภาวะที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว
  4. ให้การฝึกอบรมแก่เกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่องค์กรและผู้สนใจเกี่ยวกับกิจกรรเกษตรกรรมทางเลือกทั้งในและต่างประเทศ
  5. รณรงค์ เผยแพร่ ผลการปฏิบัติงาน และข้อมูลต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายรัฐ ให้สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับเกษตรกรรมทางเลือก การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าว และพืช โดยร่วมกับองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเครือข่ายเกษตรทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

เป้าหมายหลัก

       ให้เกษตรกรและชุมชน มีการเรียนรู้จากความรู้ภายนอก และการฟื้นฟูความรู้ดั้งเดิมมาจัดการอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ และฟื้นฟูธรรมชาติ สามารถลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น สานสร้างเครือข่ายของผู้ผลิต และผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และความสำคัญกับเรื่องของวิถีชีวิต สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง การพัฒนาระบบเกษตรกรรม กับการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นอย่างรอบด้าน

ข้าวขวัญสุพรรณ

           การคาดการการเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณเดือน กรกฎาคม จะเริ่มดำเนินเก็บเกี่ยวได้ พันธุ์ที่เพาะปลูกคือพันธุ์ขาวตาเคลือบ โดยมีพื้นที่เพราะปลูกอยู่ที่อำเภออู่ทองและอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ 150 ไร่ คาดว่าจะผลผลิตประมาณ 150 ตัน ซึ่งจะนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อขายประมาณ 100-120 ตันข้าวเปลือก โดยข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว หจก. ต.ทวีรุ่งเรือง จะเป็นผู้รับผิดชอบในการแปรรูป และบรรจุถุง โดยที่ภาคเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดจำหน่าย ซึ่งการดำเนินการจัดทำโครงการ “ความร่วมมือพัฒนาข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี” นี้ได้ดำเนินการโดยการระดมทุนจากผู้สนใจ แบ่งเป็น 100 หุ้น ๆ ละ 16,000 บาท
       โดยมีข้อตกลงคือเราจะจ่ายเงินมัดจำให้กับผู้ปลูกข้าวก่อน 2 เปอร์เซ็นต์ และจะรับซื้อในราคาประกันของรัฐบาลและเพิ่มเงินให้อีก 1,000 บาท ทั้งนี้ในการขายหุ้นเพื่อระดมทุนนั้น ก็เพื่อนำมาเป็นทุนในการซื้อข้าวจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตและจัดจำหน่าย โดยในการดำเนินโครงการนี้มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในฤดูกาลนี้ทั้งสิ้น 15 ราย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเก็บเกี่ยว ภายในเดือน กรกฎาคม – เดือนกันยายน 2555 และสามารถผลิตออกจำหน่ายได้ ประมาณเดือน ตุลาคม 2555 ในส่วนของผู้ถือหุ้น นั้น มีทั้งหมด 21 ราย โดยจัดสรรตามความสมัครใจในการซื้อหุ้น
         มาจนถึง ณ ปัจจุบัน เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยว จนครบทุกแปลงนาที่เข้าร่วมโครงการ และได้ทำการแปรรูปเป็น ข้าวสารสต๊อกไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อรอการบรรจุถุง โดยวิธีการบรรจุแบบสุญญากาศ ถุงละ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการ ซื้อ ขาย ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เป็นภาคีร่วมในการประชาสัมพันธ์และสนับสนุน “ข้าวขวัญสุพรรณ” เพื่อออกสู่ตลาด ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ต่อไป

ข้อคิดจาก ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ

     “มูลนิธิข้าวขวัญ” ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าว และระบบการปลูกข้าวที่ถูกที่วิธี ให้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำ และปลอดสารเคมี ชาวนาที่ทำตามวิธีของมูลนิธิข้าวขวัญได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาทำนา 2 คน คือ ชัยพร พรหมพันธุ์ ปี 2538 และทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ปี 2549
     ที่สำคัญกว่ารางวัลเกษตรกรดีเด่นคือ ทำให้ชาวนาที่เคยยากจน กลายเป็นชาวนารวย “ชัยพร พรหมพันธ์” คือตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางผ่านสื่อต่างๆ มากมาย แต่ทำไมชาวนาจำนวนมากไม่ยอมเปลี่ยนวิถีการทำนาให้ถูกวิธีตามวิถีของมูลนิธิข้าวขวัญ ทั้งที่เห็นชัดเจนว่า ทำแล้วชีวิตมั่นคงขึ้น
     อะไรคือปัญหาหรืออุปสรรคที่ชาวนาไม่ยอมเปลี่ยนวิถีการทำนาให้ถูกต้อง และนโยบายของรัฐบาลที่ทำกันมาตลอดทำไมยังแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาไม่ได้สักที

“ไปทำแล้วรู้สึกดีก็ถามเพื่อนว่างานที่เขาทำเกี่ยวกับอะไร เพื่อนก็บอกว่า ก็ช่วยชาวบ้านให้เขาพ้นทุกข์ เพราะเขาด้อยโอกาส ความทุกข์เยอะ เรามีโอกาสเราก็ช่วยเขา จึงบอกเพื่อนว่าถ้ามีตำแหน่งบอกด้วย จากนั้นไม่นานเพื่อนก็บอกให้ไปสมัครหน่วยศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม เขาให้ส่งเสริมเลี้ยงปลาในนาข้าว แต่ให้ไปทำที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ขอนแก่น สุรินทร์ ก็ไปลองดูว่าเหมาะสมไหม”
อ.เดชา ศิริภัทร
ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ

ติดต่อ มูลนิธิข้าวขวัญ

     มูลนิธิข้าวขวัญ สุพรรณบุรี

13/1 ม.3 ถ.เทศบาลท่าเสด็จ1 ซ.6 ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.สพรรณบุรี 72230

  Tel. 035-597193

E-mail : [email protected]

Presented by vipcasino168